หุ่นยนต์เคลื่อนที่ตามสายไฟคลื่นความถี่
อาจารย์ที่ปรึกษา
# | ชื่อ - นามสกุล | แผนก / ฝ่าย |
---|---|---|
1 | นางสาว ปราลานี สมุทรจาง | สามัญ |
2 | นาย พิทยา แก้วอักษร | อุตสาหกรรม |
นักเรียน
# | ชื่อ - นามสกุล | ระดับหลักสูตร |
---|---|---|
1 | นาย ชัยมงคล แฝงลาภ | ปวส. |
2 | นาย ณัฐวุฒิ วรรณศิลป์ | ปวส. |
3 | นาย วีรพล ไทยพานิช | ปวส. |
4 | นาย ธวัชชัย แช่มช้อย | ปวส. |
วิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต
ประเภท : สิ่งประดิษฐ์ด้านนวัตกรรมซอฟต์แวร์และสมองกลฝังตัว
บทคัดย่อ
การทำเกษตรอัจฉริยะ ต้องใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดแรงงานในภาคเกษตร จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่มีความแม่นยำในการเคลื่อนที่ หุ่นยนต์เคลื่อนที่ตามสายไฟคลื่นความถี่ สามารถทำงานได้หลายรูปแบบ เช่น การเพาะปลูก การให้ปุ๋ย การพ่นยา ฯลฯ. ขณะทำงานไม่ต้องพึ่งพาคนควบคุม หรือมีระบบที่ซับซ้อนใดๆ มีระยะการทำงานที่ผิดพลาดน้อยกว่า 4 เซนติเมตร (เมื่อได้จัดระบบสายไฟคลื่นความถี่ไว้อย่างถูกต้อง) หุ่นยนต์จะเคลื่อนที่โดยไม่ทำให้พืชผลทางการเกษตรเกิดความเสียหาย การทำงานของหุ่นยนต์จะเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางที่ถูกกำหนดตามเส้นสายไฟฟ้าพลังงานต่ำ (ดี.ซี. 12 โวท์ล) ที่ปล่อยคลื่นความถี่ออกมาจากเครื่องสร้างคลื่นความถี่พลังงานต่ำ โดยที่ตัวหุ่นยนต์จะมีเซนเซอร์คอยตรวจจับคลื่นความถี่ มีระบบสมองกลฝังตัว (ไมโครคอลโทรลเลอร์) วิเคราะห์ข้อมูล สั่งงานต่างๆ และคอยควบคุมการเคลื่อนที่ไปตามคลื่นความถี่ (โลหะนำไฟฟ้า) ตัวหุ่นยนต์ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ หรือโซล่าเซลล์ หรืออาจเป็นเครื่องยนต์เมื่อต้องการกำลังที่มากขึ้น
คุณลักษณะ / ประโยชน์
การสร้างเส้นให้หุ่นยนต์เดินตามเส้นทางที่กำหนดได้เองอย่างเรียบง่าย ติดตั้งเพิ่มลดเส้นทางได้รวดเร็ว โดยวิ่งไปตามโลหะนำไฟฟ้าหรือสายไฟ
สามารถออกแบบอุปกรณ์เพิ่มเติมเพื่อนำหุ่นยนต์ไปใช้ในด้านงานเกษตร งานขนย้ายวัสดุ งานตรวจสอบความปลอดภัย ฯลฯ