การพัฒนารูปแบบอุปกรณ์ล็อคประตูแบบพกพา
อาจารย์ที่ปรึกษา
# | ชื่อ - นามสกุล | แผนก / ฝ่าย |
---|---|---|
1 | นางสาว มนัญญ์ชยา ชูวงศ์เลิศ | อุตสาหกรรม |
2 | นางสาว พรกมล ผ่องศาลา | อุตสาหกรรม |
3 | นางสาว กานต์ชนา อ้นศรีวงศ์ | อุตสาหกรรม |
4 | นาย ชนินทร์ สุขประชา | อุตสาหกรรม |
5 | นางสาว ศิรประภา พรมสำโรง | สามัญ |
นักเรียน
# | ชื่อ - นามสกุล | ระดับหลักสูตร |
---|---|---|
1 | นาย ธนภัทร พ้องเสียง | ปวช. |
2 | นางสาว ศศินา วรแก่นทราย | ปวช. |
3 | นาย นวพงษ์ แก้วภูมิแห่ | ปวช. |
4 | นาย อนุสรณ์ ช่างสันเทียะ | ปวช. |
5 | นางสาว คุณากร วารินทร์ | ปวส. |
6 | นางสาว กมลรัตน์ ประเสริฐสังข์ | ปวส. |
7 | นางสาว วรรณิดา สุวรรณศรี | ปวส. |
วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด
ประเภท : สิ่งประดิษฐ์ด้านพัฒนาคุณภาพชีวิต
บทคัดย่อ
ผู้ประดิษฐ์ได้พัฒนารูปแบบอุปกรณ์ล็อคประตูแบบพกพา เพื่อช่วยแก้ปัญหากรณีการหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเข้าพัก อาศัยอยู่ชั่วคราวหรือระยะยาวในหอพัก-โรงแรมที่มีอัตราค่าที่พักราคาถูก รวมถึงการใช้ห้องน้ำสาธารณะในที่ลับตาคน เพียงลำพัง โดยปัญหาที่พบส่วนมากคือสถานที่นั้นนอกจากการล็อคด้วยลูกบิดประตูแล้ว มักจะไม่มีกลอนประตูติดตั้ง ภายในเพื่อความปลอดภัยของผู้พักอาศัยอีกชั้นหนึ่ง อุปกรณ์ล็อคประตูแบบพกพาจึงเป็นสิ่งประดิษฐ์เพื่อการป้องกัน เหตุอาชญากรรมที่อาจเกิดขึ้น เช่น การงัดแงะ การใช้กุญแจผีไขเข้ามาระหว่างที่ผู้พักอาศัยอยู่ลำพัง หรือในยามวิกาล
คุณลักษณะ / ประโยชน์
เป็นอุปกรณ์ช่วยในการล็อคประตูจากผู้อยู่อาศัยภายในห้องอีกชั้นหนึ่ง ในกรณีที่เข้าพักอาศัยแบบชั่วคราว เช่น โรงแรม ห้องน้ำสาธารณะ หรือการพักอาศัยในระยะยาว เช่น หอพัก โดยผู้อยู่อาศัยไม่สะดวกในการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม เนื่องจากการพักอาศัยในช่วงระยะเวลาสั้นๆ หรือไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของอาคารให้ติดตั้งอุปกรณ์ล็อคแบบถาวร อุปกรณ์นี้สามารถใช้กับประตูบานผลักเดี่ยว ทั้งแบบดึงเข้าและแบบผลักออกทุกชนิด ตามมาตรฐานอาคารโดยทั่วไป
เพื่อเพิ่มความมั่นใจในความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินให้แก่บุคคล โดยเฉพาะสุภาพสตรีที่มีความจำเป็นต้อง เดินทาง หรือพักอาศัยเพียงลำพัง
เอกสาร/ระดับ | อศจ. |
ว-สอศ-2 | |
ว-สอศ-3 | |
ภาคผนวก |