กระถางเพาะชำจากวัสดุธรรมชาติ
วิทยาลัยเทคนิคแพร่
ประเภท : สิ่งประดิษฐ์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
บทคัดย่อ
จากแนวคิดงานวิจัย จึงเป็นแนวทางในการทำวิจัยสิ่งประดิษฐ์ที่มีจุดมุ่งหมาย1) เพื่อศึกษาอัตราส่วนของสารที่นำมาทำกระถางเพาะชำจากวัสดุธรรมชาติ พบว่า อัตราส่วนของสารที่ใช้ทำกระถางเพาะชำจากวัสดุธรรมชาติที่เหมาะสมที่สุด ประกอบด้วยอัตราส่วนของกระถางเพาะชำจากวัสดุธรรมชาติ 2) เพื่อศึกษาคุณสมบัติของกระถางเพาะชำจากวัสดุธรรมชาติ พบว่า เมื่อนำไปใช้งานปลูกในที่ร่ม รดน้ำทุกวัน มีความคงทนนาน 5 สัปดาห์ ถ้าเคลือบผิวกระถางด้วยน้ำมันยางชันสนจะคงทนได้นาน 8 สัปดาห์และ 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ทดลองใช้กระถางเพาะชำจากวัสดุธรรมชาติ จำนวน 20 ตัวอย่าง พบว่า มีความพึงพอใจโดยรวมในระดับมากที่สุด
คุณลักษณะ / ประโยชน์
กระถางเพาะชำผลิตจากขี้เลื่อยที่ช่วยดูดซับน้ำและปุ๋ยและปล่อยแร่ธาตุอาหารให้พืช กากกาแฟช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้พืช รำข้าวหมักช่วยในการเร่งรากให้พืช และเยื่อกระด่ษช่วยประสานและดูดซับน้ำให้กับพืช
1. เป็นการเพิ่มมูลค่าของขี้เลื่อย 2. เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากธรรมชาติ ไม่มีพิษต่อร่างกาย มีความปลอดภัยทั้งต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม 3. เป็นการส่งเสริมการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เรื่องของการประหยัดและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
อาจารย์ที่ปรึกษา
# | ชื่อ - นามสกุล | แผนก / ฝ่าย |
---|---|---|
1 | นาง อโณทัย ลาดเหลา | สามัญ |
2 | นาง สุชัญญา กาทองทุ่ง | สามัญ |
3 | นางสาว ณัฎฐพร ผาแก้ว | สามัญ |
4 | นางสาว อรอนงค์ ขอนพิกุล | สามัญ |
5 | นาง สิรินาฏ เลือดนักรบ | สามัญ |
นักเรียน
# | ชื่อ - นามสกุล | ระดับหลักสูตร |
---|---|---|
1 | นางสาว สุพัตรา นามแก้ว | ปวส. |
2 | นางสาว วาสิณี แก้วสมัย | ปวส. |
3 | นาย สิทธิพล ลือวัฒนานนท์ | ปวส. |
4 | นาย คำรณ สมแก้ว | ปวส. |
5 | นาย สิทธินนท์ จิตต์ประจงค์ | ปวส. |
6 | นาย อานันท์ วัณโท | ปวส. |
7 | นาย จีรโชติ กันทะหงษ์ | ปวส. |
เอกสาร/ระดับ | อศจ. |
ว-สอศ-2 | |
ว-สอศ-3 | |
ภาคผนวก |