เครื่องบริหารกล้ามเนื้อแขนกึ่งอัตโนมัติ
อาจารย์ที่ปรึกษา
# | ชื่อ - นามสกุล | แผนก / ฝ่าย |
---|---|---|
1 | นาย คชานนท์ พงษ์ธัญการ | อุตสาหกรรม |
2 | นาย อรรณพ คำฝั้น | อุตสาหกรรม |
3 | ดร. คำนึง ทองเกตุ | อุตสาหกรรม |
4 | นาย ปฏิพัทธ์ ธะนะหมอก | อุตสาหกรรม |
5 | นาง พัฒนา ทองเกตุ | อุตสาหกรรม |
นักเรียน
# | ชื่อ - นามสกุล | ระดับหลักสูตร |
---|---|---|
1 | นาย สงกรานต์ สมเพชร | ปวช. |
2 | นาย ธนพลธ์ พลเมืองหล้า | ปวช. |
วิทยาลัยเทคนิคเชียงราย
ประเภท : สิ่งประดิษฐ์ด้านพัฒนาคุณภาพชีวิต
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาคุณภาพของเครื่องบริหารกล้ามเนื้อแขนกึ่งอัตโนมัติ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูที่ปฏิบัติการสอนแผนกวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคเชียงราย จำนวน 21 คน กลุ่มตัวอย่างคือ ครูที่ปฏิบัติการสอนแผนกวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคเชียงราย ที่มีประสบการณ์การสอน ไม่ต่ำกว่า 5 ปี จำนวน 5 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย (X ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัย พบว่า เครื่องบริหารกล้ามเนื้อแขนกึ่งอัตโนมัติ มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ย(X ) เท่ากับ 4.20 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.59 และเมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ด้านที่มีคุณภาพมากสุดได้แก่ ด้านความปลอดภัยในการใช้งาน มีค่าเฉลี่ย (X ) = 4.60 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.55 รองลงมาด้านรูปลักษณ์การออกแบบ มีค่าเฉลี่ย (X ) = 4.40 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.55 และด้านที่มีคุณภาพน้อยสุด ได้แก่ ด้านความประณีตของผลงาน มีค่าเฉลี่ย (X ) = 3.80 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.45
คุณลักษณะ / ประโยชน์
ใช้บริหาร บำบัดกล้ามเนื้อแขนสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถออกกำลังกายได้อย่างบุคคลปกติทั่วไป โดยใช้ต้นแรงจากมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับเป็นตัวช่วยการโยกแขนให้เคลื่อนที่ขึ้น-ลง สามารถเลือกการกายภาพได้ทั้งแขนซ้ายและแขนขวา ปรับรอบตามระดับที่ต้องการ เครื่องมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา
ใช้บริหาร บำบัด กล้ามเนื้อแขนสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถออกกำลังกายได้อย่างบุคคลปกติทั่วไป
เอกสาร/ระดับ | อศจ. | ภาค |
ว-สอศ-2 | - | |
ว-สอศ-3 | - | |
ภาคผนวก | - |