ชอล์กสมุนไพรไล่มดจากมะกรูด
อาจารย์ที่ปรึกษา
# | ชื่อ - นามสกุล | แผนก / ฝ่าย |
---|---|---|
1 | นาง นภาพร เชื้อวังคำ | สามัญ |
2 | นางสาว ภัทรพร ทิพย์โฆษิตคุณ | สามัญ |
3 | นาย พนมรัตน์ นาโสก | สามัญ |
4 | นางสาว กมลรัตน์ สุระสะ | สามัญ |
5 | นางสาว ศุภาพร รอบคอบ | สามัญ |
นักเรียน
# | ชื่อ - นามสกุล | ระดับหลักสูตร |
---|---|---|
1 | นางสาว ธิดา เมฆลอย | ปวส. |
2 | นางสาว วิมลรัตน์ แก้วศรีนวม | ปวส. |
3 | นางสาว ดวงกมล แข็งแรง | ปวส. |
วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีมุกดาหาร
ประเภท : สิ่งประดิษฐ์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของชอล์กสมุนไพรไล่มด อัตราส่วนที่เหมาะสมของสมุนไพรที่ได้นำมาเป็นวัตถุดิบในการทำชอล์กสมุนไพร โดยการทดสอบประสิทธิภาพในการป้องกันมด ระยะทางที่เหมาะสมและความเสถียรของประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ของชอล์กสมุนไพรจากมะกรูด กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการทดลองใช้ชอล์กสมุนไพรไล่มดคือ ชาวบ้าน บ้านนาโพธิ์ ตำบลโพธิ์ไทร อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร จำนวน 20 คน ได้ทดลองใช้ชอล์กสมุนไพร จากนั้นได้สอบถามความ พึงพอใจในการใช้ชอล์กสมุนไพรโดยแบบสอบถามความพึงพอใจและบันทึกผล ผลการวิจัยพบว่า ชาวบ้านบ้านนาโพธิ์ จำนวน 20 คนมีความเห็นว่าความสวยงามและน่าสนใจต่อผลิตภัณฑ์ คิดเป็น 90% ประสิทธิภาพในการไล่มดของชอล์กสมุนไพรจากมะกรูด คิดเป็น 95% ระยะเวลาในการไล่มดของชอล์กสมุนไพรจากมะกรูดคิดเป็น 85% ช่วยลดการใช้ชอล์กสารเคมีได้หรือไม่คิดเป็น 90% วัตถุดิบสามรถหาได้ในท้องถิ่น คิดเป็น 95% และความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์ คิดเป็น 85%
คุณลักษณะ / ประโยชน์
คุณลักษณะ : ชอล์กสมุนไพรไล่มดจากเปลือกมะกรูด
คุณสมบัติผลงาน และประสิทธิภาพ : มีประสิทธิภาพในการไล่มดสูงและปลอดภัยเป็นมิตรกับส่งแวดล้อม
1. เพื่อได้ชอล์กสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมและสามารถใช้ในครัวเรือนได้อย่างปลอดภัย
2. ได้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถหาได้ง่าย เป็นการส่งเสริมสมุนไพรท้องถิ่นและประหยัดค่าใช้จ่าย
เอกสาร/ระดับ | อศจ. | ภาค |
ว-สอศ-2 | ||
ว-สอศ-3 | ||
ภาคผนวก |