ลูกประคบผลไม้ (Thai Fruits Compress Ball)
อาจารย์ที่ปรึกษา
# | ชื่อ - นามสกุล | แผนก / ฝ่าย |
---|---|---|
1 | ว่าที่ ร.ต. หญิง นภาพร บ่อแก้ว | อุตสาหกรรมท่องเที่ยว |
2 | นางสาว นฤมล ไกรยะราช | - |
3 | นาย สมพงษ์ ทรัพย์มั่น | อุตสาหกรรมท่องเที่ยว |
4 | นางสาว ณิยดา ชูวณิชชานนท์ | อุตสาหกรรมท่องเที่ยว |
นักเรียน
# | ชื่อ - นามสกุล | ระดับหลักสูตร |
---|---|---|
1 | นางสาว วิภัชชา ยงยืน | ปวช. |
2 | นางสาว รักษิณา ธุปแก้ว | ปวช. |
3 | นางสาว นาตาชา บุนนาค | ปวช. |
4 | นางสาว น้องคูณ สุขเหลือ | ปวช. |
5 | นาย คุนานนท์ บรรจงศิลป์ | ปวช. |
6 | นางสาว พรวิไล แก้วตระการ | ปวช. |
7 | นาย ศิริวัฒน์ สุวรรณรงค์ | ปวช. |
8 | นางสาว สุนิษา จุรี | ปวส. |
9 | นางสาว สุนิสา เถื่อนไพร | ปวส. |
10 | นาย ศักดิ์นรินทร์ รุจิเลขานนท์ | ปวส. |
วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี
ประเภท : สิ่งประดิษฐ์ด้านผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องลูกประคบผลไม้ไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอนการทำลูกประคบจากภูมิปัญญาไทย และวิธีการนำส่วนต่างๆของผลไม้ในท้องถิ่นที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์มาสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการทำเป็นลูกประคบผลไม้ไทยและศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างผู้ทดลองใช้ ผลจากการศึกษาพบว่าผลไม้ 8 ชนิด คือ ส้มเขียวหวาน ส้มโอ มะพร้าว มะกรูด มะนาว สับปะรด มะตูม และมะขามเทศ เมื่อนำมารวมกับสมุนไพร คือ ลูกจันทร์ ลูกกระวาน พิมแสนและการบูร สามารถทำเป็นลูกประคบแบบแห้งได้และหลังจากนำไปทดลองใช้พบว่าผู้ทดลองส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับมาก อาจเป็นเพราะลูกประคบผลไม้เลือกใช้ผลไม้ไทยที่มีกลิ่นหอม ผู้ทดลองส่วนใหญ่ชอบกลิ่นหอมจากผลไม้เนื่องจากกลิ่นไม่ฉุนมากเกินไปและสามารถเก็บไว้ได้นาน
ประโยชน์ / คุณลักษณะ
ลูกประคบมีกลิ่นหอมผลไม้ เมื่อประคบแล้วไม่รู้สึกแสบร้อนบริเวณที่ประคบ สามารถเก็บไว้ได้นาน
กลิ่นหอมจากผลไม้ช่วยผ่อนคลายความเครียดได้ หลังจากการประคบจะไม่มีสีของสมุนไพรติดตามบริเวณที่ประคบ
และการประคบร้อนทำให้เลือดลมไหลเวียนได้ดี