การพัฒนาลวดลายฝาชีสานมือสู่การออกแบบเครื่องแต่งกายร่วมสมัย
วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช
ประเภท : สิ่งประดิษฐ์ด้านหัตถศิลป์
บทคัดย่อ
ฝาชีสานมือเป็นงานศิลปหัตถกรรมท้องถิ่นอย่างหนึ่งที่ทำสืบทอดกันมาแต่โบราณ มีลวดลายการสานที่มีเอกลักษณ์สวยงาม สามารถนำมาพัฒนาลวดลายเพื่อออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายร่วมสมัย (เสื้อคลุม) โดยเป็นการพัฒนาลวดลาย ให้มีความทันสมัย อายุการใช้งานที่ดีขึ้นกว่าเดิม ลวดลายและสีสันที่สวยงามแปลกใหม่ เป็นใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เพิ่มมูลค่าและทางเลือกใหม่ให้กับสินค้าและสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ทำให้สินค้าเป็นที่รู้จักมากขึ้น เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและส่งเสริมอนุรักษ์หัตถศิลป์โบราณ
ประโยชน์ / คุณลักษณะ
ผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายร่วมสมัย (เสื้อคลุม) ได้มีการออกแบบและผลิตมาจากลวดลายฝาชีสานมือในท้องถิ่นที่มีการพัฒนาให้มีความทันสมัย โดยใช้หนังสีสันต่างๆกับวัสดุอื่นๆ ที่หลากหลายมาสานเป็นรูปแบบแปลกใหม่ ผิวสัมผัสที่ดีขึ้น มีความคงทน สามรถสวมใส่ได้จริงในยุคปัจจุบัน เหมาะสำหรับกลุ่มเป้าหมายอายุระหว่าง 25-30 ปี ที่รักในงานศิลปะและแฟชั่น สร้างมุมมองการตลาดใหม่ๆที่แตกต่างจากเดิมของลวดลายฝาชีแบบธรรมดา
มีความรู้ ความเข้าใจลวดลายฝาชีสานมือ สามารถพัฒนาลวดลายฝาชีสานมือให้มีความแปลกใหม่ ทันสมัย ออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายร่วมสมัย (เสื้อคลุม) ชุมชนการทำฝาชีสานมือมีแนวทางในการพัฒนาลวดลาย สู่ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ทำให้ชุมชนมีรายได้มากขึ้น
อาจารย์ที่ปรึกษา
# | ชื่อ - นามสกุล | แผนก / ฝ่าย |
---|---|---|
1 | นาง สุชาดา นิลสาขา | คหกรรม |
2 | นาย ภูสิทธิ์ ใจดี | คหกรรม |
3 | นางสาว สุภาพร อามิตร | คหกรรม |
4 | นาง อารี มีบุญมาก | คหกรรม |
5 | นางสาว กัตติกา แก้วขาว | คหกรรม |
นักเรียน
# | ชื่อ - นามสกุล | ระดับหลักสูตร |
---|---|---|
1 | นางสาว แก้วตา มีขวด | ปวส. |
2 | นางสาว ศศินา อยู่ไชยา | ปวส. |
3 | นาย พงษ์ดนัย เถาจู | ปวส. |
4 | นางสาว อนัญพร พันชนะ | ปวส. |
5 | นางสาว วรัญญา สุขลี่ | ปวส. |